เผยแพร่แล้ว: มี.ค. 25, 2019
 
   
 
  คำสำคัญ:
  โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาล
นอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

 
     
     
 
นุศริน โกสีย์วงศานนท์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
สุคนธ์ ไข่แก้ว
รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร
ดร.อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเวรตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวัดความรู้ในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร K-R20 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.74 และแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สัดส่วน ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (paired t-test)


ผลการวิจัยก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้ระดับสูง (=14.25, S.D.=1.74) และทักษะระดับปานกลาง (=3.29, S.D.=0.53) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้ระดับสูง (=15.94, S.D.=2.34) และทักษะระดับดี (=3.54, S.D.=0.51) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุปผลการวิจัย:โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะในการการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการได้ การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาล จึงควรนำการดำเนินการในโปรแกรมการมีส่วนร่วมในด้านการฝึกเชิงปฏิบัติการ ด้วยการใช้กรณีศึกษามาพัฒนาเพิ่มความรู้การนิเทศและทักษะด้านการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราการได้อย่างมีประสิทธิผล


คำสำคัญ: โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (2018): มกราคม - มิถุนายน 2561

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. อารี ชีวเกษมสุข. สมรรถนะผู้นำทางการพยาบาล แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพ:บริษัทเฮ้าส์ ออฟ
เคอร์มิสท์ จำกัด; 2559.

2. ชูชัย สมิทธิไกร. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2558.

3. พิกุลโกวิทพัฒนา. หลักสูตรการเตรียมผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ กลุ่มภารกิจ
ด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.[พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชาการบริหาร
การพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์,ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

4. Knowles MS, Holton EF, Swanson RA. The adult learner. Burlingto: Elsevier:2005.

5. สุภณิตา ปุสุรินทร์คำ. หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก
http://opalnida.blogspot.com/2008/06/blog-post_13.html.

6. ชมพูนุท ทิพย์ฝั้น. การพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร.
พยาบาลสาร. 2557;41(1):145-57.

7. นุชดา บุญซื่อ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการโรงพยาบาลคอนสาร
จังหวัดชัยภูมิ. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์,
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

8. วารี วณิชปัญจพล. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้นิเทศการพยาบาล ใน
โรงพยาบาลสาธารณสุข. [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์,กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2557.

9. ณรุทธ์ สุทธจิตต์. การวัดและการประเมินผลและการวิเคราะห์ข้อสอบ.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2560]
เข้าถึงได้จาก http://www.air.or.th/AIR/doc/Lectures27062557_01.pdf

10. บุญชม ศรีสอาด. วิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น; 2553.

11. จงกลนี อุตตมะ. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และสมรรถนะแห่งตนของพยาบาลในการดูแล
เด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีอาการอ่อนเปลี้ยจากเคมีบำบัด. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชา
การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์,เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

12. Draganov PB, Andrade AC, Neves VR,Sanna MC. Andragogy in nursing: a literature review. Invest
Educ Enfer. 2013;31(1):86-94.

13. อุรา แสงเงิน, สุพัตรา อุปนิสากร, ทิพมาส ชิณวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะใน
การช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.
2555;32(1):1-9.

14. นภาพิไล ลัทธศักดิ์ศิริ. การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการ
ตัดสินใจสำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานของศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจยานยนต์อีซูซุ ในภาคตะวันออก
ประเทศไทย. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม.2558;11(2): 235-46.